วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
วิสัยทัศน์ /พันธกิจ



วิสัยทัศน์
 โรงเรียนกระเทียมวิทยาพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนตามหลักพหุปัญญาผู้เรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานสากล ปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 
พันธกิจ
1. ส่งเสริม สนับสนุนผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาตามหลักพหุปัญญา
          2. พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและเทียบเคียงมาตรฐานสากล             
3. พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านสิ่งเสพติด ป้องกันโรคติดต่อ ส่งเสริมทักษะอาชีพ และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม
4. สนับสนุนการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น และนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
5. ส่งเสริม พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นมืออาชีพ 
6. ส่งเสริมการบริหารงานโดยใช้หลักธรรมาภิบาล
7. ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ปกครอง ชุมชน และนักเรียนได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และโรงเรียนกระเทียมวิทยามีการให้บริการชุมชนอย่างทั่วถึง 
8. ส่งเสริม สนับสนุนความเป็นเลิศด้านกีฬาสู่อาชีพ
 
เป้าประสงค์หลัก
1. สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีคุณภาพ น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน 
2. ผู้เรียนทุกคนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเทียบเคียงมาตรฐานสากล 
3. ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รักถิ่นฐาน เห็นคุณค่า ร่วมสืบสาน ร่วมอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ  
4. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความสามารถและทักษะตามมาตรฐานวิชาชีพ 
5. โรงเรียนและชุมชนมีความเข้มแข็งตามหลักธรรมาภิบาล
 
ค่านิยมองค์กร
          มีวินัย  ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน  มีจิตสาธารณะ
 
 
วัฒนธรรมองค์กร
          การทำงานเป็นทีม  
 
สมรรถนะหลักขององค์กร
          เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้  มีจิตสำนึกในการให้บริการ  คู่คุณธรรมตามหลักสากล
 
กลยุทธ์
1. จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง
2. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
3. ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
4. ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
5. จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
6. พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมการมีส่วนร่วม
 
เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ (มาตรฐานการศึกษา 3 มาตรฐาน)
1 คุณภาพของผู้เรียน
             1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
   1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
2.  กระบวนการบริหารและการจัดการ
3.  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
 
จุดเน้น นโยบาย โรงเรียนกระเทียมวิทยา
จุดเน้นที่ 1 ด้านผู้เรียน
1. นักเรียนมีสมรรถนะสำคัญสู่มาตรฐานสากล
ตัวชี้วัด  
  · ค่าเฉลี่ยร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ของผลการทดสอบระดับชาติ O-NET ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมฯ โดยรวมเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 3  
  · ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ (โรงเรียนที่มีความพร้อมปานกลาง)เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3-5
  ·  นักเรียนมีความสามารถด้านทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษตามมาตรฐานที่กำหนด(โรงเรียนที่มีความพร้อมปานกลาง) ร้อยละ 50
  ·  มีแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
  ·  มีแนวทาง/วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนให้เชื่อมโยงตั้งแต่ระดับห้องเรียนระดับชาติ และระดับนานาชาติ  
2. นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรม รักสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ภูมิใจในความเป็นไทย ห่างไกล ยาเสพติด มีคุณลักษณะและทักษะทางสังคมที่เหมาะสม  
  · ระดับความสำเร็จการดำเนินกิจกรรม ให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ครบทุกตัว สอดคล้องตามช่วงวัย
3. นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษได้รับการส่งเสริมและพัฒนา เต็มตามศักยภาพเป็น รายบุคคล  
  ·  ร้อยละ 80 ของนักเรียนพิการที่ได้รับโอกาสให้สามารถพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพ
  ·  ร้อยละ 80 ของนักเรียนพิการผ่านการพัฒนาตามศักยภาพเป็นรายบุคคล
 
จุดเน้นที่ 2 ด้านครู
1. ครูได้รับการพัฒนาความรู้และสมรรถนะ  
  · ครูมีองค์ความรู้ตามเนื้อหาที่กำหนดในระดับดีขึ้นไป
  · ครูได้รับการช่วยเหลือศึกษานิเทศก์ให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้  
  · ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มี ID Plan ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาตนเองอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
2. ผู้บริหารสถานศึกษา ได้รับการพัฒนา  
  · ผู้บริหารสถานศึกษามีความรู้ ความสามารถในการบริหารวิชาการ ในศตวรรษที่ 21 ในระดับ ดีขึ้นไป
3. ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นมืออาชีพมีผลงานเชิงประจักษ์ ได้รับการยกย่องเชิดชู เกียรติอย่างเหมาะสม  
  · ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีผลการปฏิบัติงานเชิงประจักษ์ตามเกณฑ์ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติทุกคน
4. องค์กรและคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดเตรียมและการจัดสรรครู ตระหนักและ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้ครูและผู้บริหารสถานศึกษาบรรจุใหม่/ย้ายไปบรรจุ มีความสามารถสอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน ชุมชน และสังคม  
  · คณะอนุกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา มีการบริหารงานบุคคลเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
 
  
 
จุดเน้นที่ 3 ด้านการบริหารจัดการ
1. สถานศึกษาบริหารจัดการโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ เน้นการ กระจายอำนาจ การมีส่วนร่วมและการรับผิดชอบต่อการดำเนินงาน  
  · เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2565  สถานศึกษาเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90    
  · สถานศึกษามีความสามารถพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ  
2. สถานศึกษาจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน  
  · สถานศึกษามีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็งตามกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561
  · สถานศึกษาได้รับ การรับรองคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.)  
  · สถานศึกษามีผลงานที่เป็นเลิศ
 
แนวทางการดำเนินงานการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
         1. สร้างความตระหนักให้แก่ครู ผู้ปกครองให้เห็นความสำคัญของการศึกษา
         2. ประชุมชี้แจงผู้บริหาร ครู ให้เข้าใจในผลการประเมินและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น วิเคราะห์หาสาเหตุ  และแนวทางในการพัฒนา ระดมความคิดเห็น จัดทำแผนในการพัฒนา
         3. ประชุมปฏิบัติการครูทุกกลุ่มสาระ เพื่อวิเคราะห์ผลการประเมินเปรียบเทียบความก้าวหน้า กำหนดเป้าหมายในการพัฒนา พร้อมจัดทำแผนพัฒนาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ในทุกกลุ่มสาระ
         4. ปรับปรุง พัฒนาครู สร้างสื่อ นวัตกรรม สร้างเครื่องมือวัดผลประเมินผล นิเทศติดตามเป็นระยะ
         5. พัฒนาครูผู้สอนในการออกแบบการเรียนรู้ สร้างสื่อ นวัตกรรมที่จะนำไปใช้ในการพัฒนา
ผู้เรียน แยกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
         6. วิจัยพัฒนาหารูปแบบในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
         7. จัดหาสื่อ นวัตกรรม เครื่องมือประเมินผล เพื่อในไปใช้ในทุกกลุ่มสาระ
         8. จัดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถของนักเรียน เช่น จัดการแข่งขันทักษะทางวิชาการ จัดประกวดโครงงาน สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ
         9. จัดเวทีสัมมนาและเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิค วิธีการ นวัตกรรมที่ประสบผลสำเร็จแก่ครู
          10. ควรทำการวิจัยโดยนำ นวัตกรรมมาใช้ เพื่อยกระดับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในระดับสถานศึกษา
          11. ควรทำการวิเคราะห์ในระดับสถานศึกษาเพื่อนำไปสู่การพัฒนาในระดับสถานศึกษา